การเจ็บป่วยไม่ใช่เรื่องที่ใครอยากให้เกิดขึ้น แต่เมื่อต้องเผชิญหน้ากับความไม่แน่นอนของสุขภาพ การมี “ประกันชดเชยรายได้” ก็เปรียบเสมือนเกราะป้องกันที่ช่วยดูแลรายได้ของคุณให้ยังคงอยู่ แม้ในยามที่ต้องหยุดพักรักษาตัว
บทความนี้จะพาคุณทำความรู้จักกับประกันชดเชยรายได้ ทั้งในแง่ความหมาย ความสำคัญ และความคุ้มครองที่คุณควรทราบ พร้อมแนะนำกลุ่มคนที่ควรมีประกันประเภทนี้ และตอบคำถามที่พบบ่อย เพื่อให้คุณมีข้อมูลครบถ้วนในการตัดสินใจเลือกรับความคุ้มครองที่เหมาะสมกับความต้องการ
ประกันชดเชยรายได้ คืออะไร? สำคัญอย่างไร ทำไมถึงควรทำ?
ประกันชดเชยรายได้ คือ กรมธรรม์ประกันภัยที่ออกแบบมาเพื่อชดเชยรายได้ ในกรณีที่ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหรือไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ โดยบริษัทประกันจะจ่ายเป็นเงินชดเชยเพื่อทดแทนรายได้ที่สูญเสียไปตามจำนวนที่กำหนดไว้ในเงื่อนไขกรมธรรม์
หากถามว่า ทำไมถึงควรทำประกันชดเชยรายได้? นั่นก็เพราะว่า ประกันประเภทนี้ มีข้อดีในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น
- 1. รักษาเสถียรภาพทางการเงินในช่วงที่ไม่สามารถทำงานได้ ช่วยลดความเสี่ยงในการใช้เงินเก็บจนหมดระหว่างพักรักษาตัว และลดโอกาสในการก่อหนี้เนื่องจากขาดรายได้
- 2. ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ช่วยให้สามารถจ่ายค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ทั้งค่าอาหาร และค่าใช้จ่ายของคนในครอบครัว เนื่องจากในบางแผน ประกันชดเชยราย ได้ วันละ 2000 บาท จึงแบ่งเบาภาระลงได้มาก
- 3. สร้างความมั่นคงทางจิตใจ ช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาการเงินในระหว่างการรักษา เพราะอุ่นใจกับเงินชดเชยที่จะได้รับ
ใครบ้างที่ควรทำประกันชดเชยรายได้?
ประกันชดเชยรายได้เหมาะสำหรับพนักงานเงินเดือนและผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ แต่อย่างไรก็ตาม ประกันชดเชยรายได้ ยังเหมาะสำหรับคนอีกหลายกลุ่ม เนื่องจากสามารถช่วยชดเชยรายได้ที่เสียไป และเพื่อให้เข้าใจง่าย ๆ สามารถแบ่งกลุ่มผู้ที่ควรทำประกันประเภทนี้ ได้ดังนี้
- พนักงานบริษัทที่ไม่มีสวัสดิการครอบคลุมการหยุดงานระยะยาว แม้จะมีประกันสังคม แต่อาจไม่เพียงพอสำหรับการหยุดงานเป็นเวลานาน
- ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ฟรีแลนซ์ เพราะมักไม่มีสวัสดิการจากนายจ้าง การหยุดงานจึงหมายถึงการขาดรายได้โดยสิ้นเชิง
- ผู้ที่มีเงินออมน้อย การมีประกันชดเชยรายได้จะช่วยป้องกันไม่ให้ต้องใช้เงินเก็บที่มีอยู่น้อยจนหมดไป
- ผู้ที่มีภาระทางการเงินสูง มีหนี้สิน กำลังผ่อนบ้าน ผ่อนรถ หรือมีค่าใช้จ่ายสูงในการเลี้ยงดูครอบครัว
- ผู้ที่ทำงานในอาชีพที่มีความเสี่ยงสูง เช่น งานก่อสร้าง งานในโรงงาน หรืองานที่ต้องเดินทางบ่อย ซึ่งมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บสูง
- ผู้ที่ทำงานในอาชีพที่ต้องใช้ทักษะเฉพาะ หากเกิดการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยจนไม่สามารถประกอบอาชีพเดิมได้ อาจต้องใช้เวลานานในการปรับตัวหรือฝึกทักษะใหม่
ตอบ 5 คำถามที่หลายคนสงสัย ซื้อประกันชดเชยรายได้ควรทราบอะไรบ้าง?
ก่อนตัดสินใจซื้อประกันชดเชยรายได้ หลายคนอาจมีข้อสงสัยในหลายประเด็น เราจึงรวบรวม 5 คำถามยอดฮิตมาไว้ให้แล้ว
Q1: ประกันชดเชยรายได้แตกต่างจากประกันสุขภาพอย่างไร??
ตอบ ประกันสุขภาพจะดูแลค่าใช้จ่ายในส่วนของค่ารักษาพยาบาล แต่ประกันชดเชยรายได้จะจ่ายเป็นเงินทดแทนรายได้ที่สูญเสียไปเมื่อไม่สามารถทำงานได้ ดังนั้นการทำประกันทั้งสองประเภทจะช่วยเสริมกันและกัน เพราะคุ้มครองทั้งค่ารักษาและรายได้
Q2: อายุเท่าไหร่จึงสามารถทำได้?
ตอบ โดยทั่วไปสามารถทำได้ตั้งแต่อายุ 20-60 ปี แต่แนะนำว่าอายุที่เหมาะสมที่สุดคือช่วง 25-45 ปี เนื่องจากเบี้ยประกันยังไม่สูงมาก และเป็นช่วงที่มีภาระทางการเงินสูง ทั้งนี้ในบางบริษัทอาจรับประกันถึงอายุ 65 ปี แต่ค่าเบี้ยประกันจะสูงขึ้นตามอายุ
Q3: มีโรคประจำตัว ทำประกันชดเชยรายได้ได้หรือไม่?
ตอบ ผู้ที่มีโรคประจำตัวสามารถทำได้ในหลายกรณี โดยบริษัทประกันจะพิจารณาเป็นรายกรณี ดูจากประเภทของโรค ความรุนแรง และการควบคุมอาการ แต่อาจมีเงื่อนไขพิเศษหรือค่าเบี้ยประกันที่สูงขึ้น หรือในบางเจ้าอาจมีการยกเว้นความคุ้มครองสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวก่อนทำประกัน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละที่
Q4: ประกันชดเชยรายได้คุ้มครองในกรณีใดบ้าง?
ตอบ คุ้มครองครอบคลุมทั้งกรณีนอนโรงพยาบาลและพักรักษาตัวที่บ้าน ใช้ได้ทั้งกรณีเจ็บป่วยระยะสั้นและระยะยาว และบางแผนประกันอาจมีการคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของกรมธรรม์
Q5: ประกันชดเชยรายได้มีระยะเวลารอคอยหรือไม่?
ตอบ มีระยะเวลารอคอย (Waiting Period) อยู่ที่ 30 วัน นับตั้งแต่วันเริ่มมีผลคุ้มครองครั้งแรก และมีจะระยะเวลารอคอย 120 วัน ในกรณีของโรคหรือการเจ็บป่วย ดังนี้ เนื้องอก ถุงน้ำ หรือมะเร็งทุกชนิด, ริดสีดวงทวาร, ไส้เลื่อนทุกชนิด, ต้อเนื้อหรือต้อกระจก, การตัดทอนซิลหรืออดีนอยด์, นิ่วทุกชนิด, เส้นเลือดขอดที่ขา และเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือในบางบริษัทอาจมีระยะเวลารอคอย 180 วัน สำหรับการทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงด้วย
ทราบข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับประกันภัยที่เปรียบเสมือนเกราะป้องกันรายได้เมื่อเจ็บป่วยกันไปแล้ว หากใครที่เริ่มสนใจอยากทำประกันชดเชยรายได้ ก็สามารถเริ่มได้เลยตั้งแต่ตอนนี้ เพื่อเป็นแผนสำรองเมื่อเกิดกรณีขาดรายได้ในอนาคต
แต่หากใครยังไม่มีประกันประเภทนี้ในใจ ขอแนะนำ ประกันชดเชยรายได้ ชิลชัวร์ จาก Tune Protect Thailand ประกันชดเชยราย ได้ วันละ 2000 บาท/วัน* ที่มีจุดเด่นของแผนประกันที่พร้อมซัปพอร์ตผู้ซื้อประกันในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น
– จ่ายเงินชดเชยรายได้เมื่อนอนโรงพยาบาล สูงสุด 2,000 บาท/วัน* หมดกังวลเมื่อเจ็บป่วย บาดเจ็บ จนต้องขาดงาน
– กรณีรักษาตัวในโรงพยาบาลเนื่องจากอุบัติเหตุ ในห้องผู้ป่วยหนัก (I.C.U.) รับเงินชดเชยเพิ่มเป็น 2 เท่า*
– หากตลอดระยะเวลาไม่มีการเคลม รับส่วนลดเบี้ย 10%* (สูงสุด 3 ปีกรมธรรม์)
– รับประกันตั้งแต่อายุ 20 – 55 ปี สามารถต่ออายุได้สูงสุดถึง 60 ปี ดูแลคุณได้ยาว ๆ
– ไม่ต้องสำรองจ่ายไปก่อน หากเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลในเครือ
– ฟรีบริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์ Health2GO (สำหรับแผนสูงสุด)
ประกันชดเชยรายได้ ชิลชัวร์ ให้คุณจ่ายค่าเบี้ยเริ่มชิล ๆ แค่ 3 บาท/วัน* เท่านั้น หากสนใจซื้อประกันภัยหรือรับรายละเอียดของแผนประกันเพิ่มเติม สามารถดูเพิ่มได้ที่เว็บไซต์: https://www.tuneprotect.co.th/th/product/health/ONCSHC หรือติดต่อที่ Line@: @tuneprotectth หรือ Call center: 1183
*ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขของเอกสารเสนอขายก่อนตัดสินใจทำประกันภัย เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด แคมเปญการส่งเสริมการขายนี้จัดทำขึ้นและสนับสนุนโดย บจก. เกรท ฟอร์ ทูน โบรกเกอร์ จำกัด